ความหมายของคอมพิวเตอร์

ความหมายของคอมพิวเตอร์ .. หมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูง อย่างต่อเนื่อง และอัตโนมัติ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์
การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ไม้บรรทัดคำนวณ อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ โดยไม้บรรทัดคำนวณจะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่ เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมรประกบรวมกัน การคำนวณผล เช่น การคูณ จะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่งแอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด
แอนะล็อกคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่งสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษา
ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น

2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer) คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ แต่เป็นแบบลูกคิด โดยแต่และหลักของลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นระบบเลขฐานสินที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถ้าเก้าไปสิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือเลขศูนย์กับเลขหนึ่งเท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย

จากอดีตสู่ปัจจุบัน

พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน คอมพิวเตอร์ เมื่อ 50 ปีที่แล้วมา มีคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน ต่อมาเกิดระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมาย และมีแนวโน้มการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราสามารถแบ่งพัฒนาการคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นยุคก่อนการใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ และยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์

com-edvac

เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์

เครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลก ได้แก่ ลูกคิด มีการใช้ลูกคิดในหมู่ชาวจีนมากกว่า 7000 ปี และใช้ในอียิปต์โบราณมากกว่า 2500 ปี ลูกคิดของชาวจีนประกอบด้วยลูกปัดร้อยอยู่ในราวเป็นแถวตามแนวตั้ง โดยแต่ละแถวแบ่งเป็นครึ่งบนและล่าง ครึ่งบนมีลูกปัด 2 ลูก ครึ่งล่างมีลูกปัด 5 ลูก แต่ละแถวแทนหลักของตัวเลข

เครื่องคำนวณกลไกที่รู้จักกันดี ได้แก่ เครื่องคำนวณของปาสคาลเป็นเครื่องที่บวกลบด้วยกลไกเฟืองที่ขบต่อกัน เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสาตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2185

คอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรก ได้แก่ เครื่องจักรกลหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยในการ คำนวณ โดยที่ยังไม่มีการ นำวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมด้วย ลำดับเครื่องมือขึ้นมามีดังนี้

ในระยะ 5,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตนเพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนา มาใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ลูกหิน ใช้เชือกร้อยลูกหินคล้ายลูกคิด

ต่อมาประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการ คำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้ ช่วยการคำนวณขึ้นมา เรียกว่า Napier’s Bones เป็นอุปกรณ์ที่ลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้ช่วยให้ สามารถ ทำการคูณและหาร ได้ง่ายเหมือนกับทำการบวก หรือลบโดยตรง

พ.ศ 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Blaise Pascal ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง 19 ปี ได้ออกแบบ เครื่องมือในการคำนวณโดย ใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ 1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ ทางด้านซ้ายจะถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เครื่องมือของปาสคาลนี้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะชน เมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากราคาแพง และเมื่อใช้งานจริงจะเกิดเหตุการณ์ที่ฟันเฟืองติดขัดบ่อยๆ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ค่อยถูกต้องตรงความเป็นจริง

เครื่องมือของปาสคาล สามารถใช้ได้ดีในการคำนวณการบวกและลบ ส่วนการคูณและหารยังไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในปี พ.ศ. 2216 นักปราชญษชาวเยอรมันชื่อ Gottfriend von Leibnitz ได้ปรับปรุงเครื่งคำนวณของ ปาสคาลให้สามารถทหการคูณและหารได้โดยตรง โดยที่การคูณใช้หลักการบวกกันหลายๆ ครั้ง และการหาร ก็คือการลบกันหลายๆ ครั้ง แต่เครื่องมือของ Leibnitz ยังคงอาศัยการหมุนวงล้อ ของเครื่องเองอัตโนมัติ นับว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ดูยุ่งยากกลับเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้ บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่ง ควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ และแบบดังกล่าวสามารถนำมา สร้างซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง ความพยายามของ Jacquard สำเร็จลงใน พ.ศ. 2348 เครื่องทอผ้านี้ถือว่าเป็น เครื่องทำงานตามโปรแกรมคำสั่งเป็นเครื่องแรก

พ.ศ. 2373 Chales Babbage ถือกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2334 จบการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และได้รับตำแหน่ง Lucasian Professor ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ Isaac Newton เคยได้รับมาก่อน ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่นั้น Babbage ได้สร้างเครื่อง หาผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณ และพิมพ์ตารางทางคณิศาสตร์อย่างอัตโนมัติ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2373 เขาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อสร้างเครื่อง Difference Engine ขึ้นมาจริงๆ

แต่ในขณะที่ Babbage ทำการสร้างเครื่อง Difference Engine อยู่นั้น ได้พัฒนาความคิดไปถึง เครื่องมือในการคำนวนที่มีความสามารถสูงกว่านี้ ซึ่งก็คอืเครื่องที่เรียกว่าเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) และได้ยกเลิกโครงการสร้างเครื่อง Difference Engine ลงแล้วเริ่มต้นงานใหม่ คือ งานสร้างเครื่องวิเคราะห์ ในความคิดของเขา โดยที่เครื่องดังกล่าวประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ

ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์
ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูล และส่วนประมวลผล
ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับทราบข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บ และแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณให้ผู้ใช้ได้รับทราบ
เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่อง Alaytical Engine มีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่เครื่อง Alalytical Engine ของ Babbage นั้นไม่สามารถ สร้างให้สำเร็จขึ้นมาได้ ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยี สมัยนั้นไม่สามารถสร้างส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าว และอีกประการหนึ่งก็คือ สมัยนั้นไม่มีความจำเป็น ต้องใช้เครื่องที่มีความสามารถสูงขนาดนั้น ดังนั้นรัฐบาล อังกฤษจึงหยุดให้ความสนับสนุนโครงการของ Babbage ในปี พ.ศ. 2385 ทำให้ไม่มีทุนที่จะทำการวิจัยต่อไป สืบเนื่องจากมาจากแนวความคิดของ Analytical Engine เช่นนี้จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่อง ให้เป็น บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์

พ.ศ. 2385 ชาวอังกฤษ ชื่อ Lady Auqusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Anatical Engine จากภาษาฝรั่งเศลเป็นภาษาอังกฤษ ในระหว่างการแปลทำให้ Lady Ada เข้าใจถึงหลักการทำงาน ของเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนรายละเอียดขั้นตอนของคำสั่งให้เครื่องนี้ทำการคำนวณที่ยุ่งยาก ซับซ้อนไว้ในหนังสือทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมแรกของโลก และจากจุดนี้จึงถือว่า Lady Ada เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก (มีภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมที่เก่แก่ อยู่หนึ่งภาษาคือภาษา Ada มาจาก ชื่อของ Lady Ada) นอกจากนี้ Lady Ada ยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรู ที่บรรจุคำสั่งไว้สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำได้ถ้าต้องการ นั่นคือหลักของการทำงานวนซ้ำ หรือเรียกว่า Loop เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ เลขฐานสอง (Binary Number) กับระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักของพีชคณิต

พ.ศ. 2397 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ George Boole ได้ใช้หลักพีชคณิตเผยแพร่กฎของ Boolean Algebra ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์ที่ใช้อธิบายเหตุผลของตรรกวิทยาที่ตัวแปรมีค่าได้เพียง “จริง” หรือ “เท็จ” เท่านั้น (ใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ 0 กับ 1 ร่วมกับเครื่องหมายในเชิงตรรกพื้นฐาน คือ AND, OR และ NOT)

สิ่งที่ George Boole คิดค้นขึ้น นับว่ามีประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็น การยากที่จะใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งมีเพี่ยง 2 สภาวะ คือ เปิด กับ ปิด ในการแทน เลขฐานสิบซึ่งมีอยู่ถึง 10 ตัว คือ 0 ถึง 9 แต่เป็นการง่ายกว่าเราแทนด้วยเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1 จึงถือว่าสิ่งนี้เป็นรากฐานที่สำคัญของการ ออกแบบวงจรระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

พ.ศ. 2423 Dr. Herman Hollerith นักสถิติชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติซึ่ง ใช้กับบัตรเจาะรู เครื่องนี้ได้รับการพัฒนา ให้ดียิ่งขึ้นและมาใช้งานสำรวจสำมะโนประชากร ของสหรัฐอเมริกา ในป พ.ศ. 2433 และช่วยให้การสรุปผลสำมะโนประชากรเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง (โดยก่อนหน้านั้นต้องใช้เวลาถึง 7 ปีครึ่ง) เรียกบัตรเจาะรูนี้ว่า บัตรฮอลเลอริธ และชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกบัตรนี้ ก็คือ บัตร ไอบีเอ็ม หรือบัตร 80 คอลัมน์ เพราะผู้ผลิตคือ บริษัท IBM

คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน

ในขณะนี้บทบาทของคอมพิวเตอร์ได้แผ่เข้าไปในสถานศึกษาอย่างกว้างขวางเพราะนอกจากสถานศึกษาจะมีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้สอนวิชาคอมพิวเตอร์แล้วยังนำไปใช้งานอื่นๆ อีกคือ
คอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหาร เช่น การคิดคะแนน ทำทะเบียนบุคลากร ครุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ บัญชีเงินเดือน จัดทำตารางสอน ฯลฯคอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริการ เช่น งานห้องสมุด แนะแนว โสตทัศนศึกษา งานประชาสัมพันธ์ ฯลฯ นอกจากบทบาทดังกล่าวแล้วบทบาทที่สำคัญอีกอย่าง
หนึ่ง คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
images
– บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม

คอมพิวเตอร์ช่วยงานวิศวกรรมได้เกือบทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ ซึ่งทำให้สามารถเขียนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบได้ตลอดเวลาและบ่อยครั้งวิศวกรจึงมีอิสระในการคิด สามารถทบทวนความคิดเพื่อปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ให้ดีขึ้น โดยคอมพิวเตอร์ไม่แสดงความเบื่อหน่าย หลังจากที่วิศวกรพอใจในแบบแล้วก็จะสร้างเครื่องต้นแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดสอบตามสภาพต่างๆ ว่า สามารถทำงานตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ บางครั้งวิศวกรจะใช้คอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองขึ้นมาเพื่อทำการทดสอบ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น

นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยวิศวกรในการสร้างเครื่องจักร สรรหากระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยในการคำนวณหาจำนวนชิ้นส่วน ช่วยในการจัดหาวัสดุในขบวนการผลิตคอมพิวเตอร์จะควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำงาน เช่น การประกอบ การพ่นสี และเมื่อผลิตภัณฑ์สำเร็จคอมพิวเตอร์จะช่วยในการจัดการเกี่ยวกับสินค้าคงคลังของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น

ในงานวิศวกรรมโยธา คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณโครงสร้าง ช่วยในการวางแผนและการควบคุมการก่อสร้าง การประมาณราคา การจัดหาวัสดุ การทำรายงาน การเขียนแบบต่างๆ

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์

คอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขาอาทิเช่น ช่วยเก็บและเปรียบเทียบ คัดเลือกข้อมูล สามารถทำงานร่วมกับเครื่องวัดต่างๆ หุ่นยนต์คอมพิวเตอร์จะช่วยทำการทดลองที่เป็นอันตราย หรือสามารถใช้ในการทดลองแทนสัตว์ ซึ่งอาจจะเสียชีวิตได้ คอมพิวเตอร์ช่วยในการเดินทางของยานอวกาศต่างๆ การถ่ายภาพระยะไกล การสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นต้น

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ

คอมพิวเตอร์สามารถจัดการข้อมูลได้รวดเร็วและถูกต้อง ทำให้การวางแผนธุรกิจเป็นไปอย่างง่ายดายคอมพิวเตอร์จะช่วยประมาณสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างแม่นยำสามารถช่วยงานธุรการ เช่น จัดการเกี่ยวกับบุคลากร เงินเดือน การพัสดุ ค่าใช้จ่าย รายได้ ภาษีอากร การทำจดหมายโต้ตอบ การทำรายงาน เป็นต้น

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร

กิจการธนาคารนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ เพราะธนาคารมีทั้งผู้ฝากเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้และผู้กู้ซึ่งเป็นลูกหนี้ มีการฝากและถอนเงินเป็นภาระกิจประจำ การคิดดอกเบี้ยในอัตราต่างๆ และในช่วงเวลาต่างๆ ก็เป็นเรื่องยุ่งยากธนาคารต้องเกี่ยวข้องกับกระแสเงินตราต่างประเทศนอกจากนี้กิจกรรมของธนาคารซึ่งคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญที่สุดเรียกว่า Automatic Teller Machine หรือ ATM ซึ่งลูกค้าสามารถฝากถอนหรือโอนเงินจากเครื่องได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกเป็นอย่างมาก และเป็นที่นิยมแพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบัน

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก

ปัจจุบันร้านสรรพสินค้าใหญ่ๆ หลายแห่ง ได้ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แทนเครื่องคิดเลขที่จุดขาย เครื่องเหล่านี้จะเป็นเครื่องปลายทาง (Terminal) พ่วงต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก พนักงานขายเพียงแต่ป้อนข้อมูลสินค้าด้วยการพิมพ์หรือการอ่านรหัสด้วยเครื่องอ่าน เครื่องจะพิมพ์ใบเสร็จพร้อมกับบันทึกการขายให้โดยอัตโนมัติ ในขณะเดียวกันข้อมูลของสินค้าจะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนการขายทันที ทำให้ผู้จัดการรู้ปริมาณการเคลื่อนไหวของสินค้าตลอดเวลา และสามารถสั่งสินค้ามาขายได้อย่างเพียงพอ

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานสังคมศาสตร์

นักวิจัยนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานสังคมศาสตร์ เช่น ในงานจิตวิทยาและสังคมสงเคราะห์ คอมพิวเตอร์ช่วยให้นักวิจัยทราบข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมต่างๆ จากงานสถิติ เพราะคอมพิวเตอร์สามารถให้คำตอบออกมาอย่างรวดเร็ว และถูกต้อง

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลนอกจากจะช่วยงานธุรการต่างๆ เช่น ใช้บันทึกและค้นหาทะเบียนประวัติผู้ป่วย ควบคุมการรับและจ่ายยาแล้ว ยังช่วยในการวินิจฉัยโรคอีกด้วย เช่น ตรวจคลื่นสมอง บันทึกการเต้นของหัวใจ คำนวณปริมาณและทิศทางของรังสีแกมมาที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง คำนวณหาตำแหน่งที่ถูกต้องของอวัยวะก่อนการผ่าตัด เป็นต้น

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการคมนาคมและสื่อสาร

การจองตั๋วที่นั่งเครื่องบินเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้คอมพิวเตอร์ในการคมนาคมและสื่อสาร เพราะสายการบินทั่วโลกมีหลายสาย แต่ละสายมีหลายเที่ยวบิน ในขณะที่จำนวนที่นั่งมีจำนวนจำกัด การใช้คอมพิวเตอร์จึงทำให้ผู้โดยสารสามารถเลือกสายการบินได้สะดวก ถูกต้องและเมื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงก็จะทำได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลสถิติของผู้โดยสารไว้ด้วย ในส่วนของท่าอากาศยานได้มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ ปัจจุบันนี้สายการบินทั่วโลกมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ระบบสื่อสาร

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรม

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มีส่วนช่วยพัฒนางานต้านอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานทั้งระบบ ตั้งแต่การวางแผนการผลิตการกำหนดเวลา การวางแผนด้านการใช้จ่ายเงิน วางแผนการปฏิบัติงาน การควบคุมระบบการผลิต

ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการปรับเครื่องมือให้กลับคืนสู่การควบคุาปกติได้ถ้าผลิตผลนั้นเกิดผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานการผลิต ดังจะเห็นได้ว่าโรงงานกลั่นน้ำมันใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจวัดการส่งน้ำมันดิบ วัดค่าอุณหภูมิและความดันตลอดเวลา เพื่อตรวจปรับสภาพการทำงาน ในประเทศไทยเองก็มีโรงงานแยกแก๊สที่จังหวัดระยองได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการนำแก๊สมาแยกเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งแก๊สหุงต้มและควบคุมการส่งแก๊สธรรมชาติไปตามท่อจากจังหวัดระยองไปกรุงเทพและสระบุรี โดยมีระบบควบคุมความดันของแก๊สในท่อเป็นระยะ ๆ

ในกระบวนการอุตสาหกรรมแบบอัตโนมัติมีการนำคอมพิวเตอร์มาควบคุมการทำงานของเครื่องเจาะ ตัด ไส กลึง และเชื่อมโลหะ เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ใช้หุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ในการทาสี พ่นสี เชื่อมโลหะ ติดกระจกหน้ารถยนต์ เป็นต้น

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ

คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำทะเบียนราษฎร์ ช่วยในการนับคะแนนการเลือกตั้งและรวบรวมเพื่อประกาศผล การคิดภาษีอากร การบริหารทั่วไป การสวัสดิการต่าง ๆ การรวบรวมข้อมูลและสถิติ การบริหารงาน การทำงานสาธารณูปโภค ในการทหารอาจจะใช้ควบคุมการยิงจรวดนำวิถี การยิงปืนใหญ่ การเดินเรือรบ เป็นต้น

กระทรวงยุติธรรม ใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับย่อทุกคดีให้ผู้พิพากษาได้ค้นหาคดีต่าง ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินความ

กระทรวงศึกษาธิการ ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำประวัติครูทั่วประเทศ ทำสถิตินักเรียนและโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อช่วยในการบริหารการศึกษาทั่วประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำสถิติข้อมูลการค้าของประเทศ ทำดัชนีราคา เก็บทะเบียนการค้า การควบคุมโคต้าการส่งออกสินค้าบางชนิด ฯลฯ

กระทรวงอุตสาหกรรม ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บทะเบียนโรงงาน ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ

กระทรวงเกษตร ใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมข้อมูลผลผลิตทางการเกษตร เพื่อวางแผนร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในการส่งเสริมการขาย

กระทรวงมหาดไทย ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำทะเบียนสำมะโนครัว บัตรประจำตัวประชาชน รวบรวมข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารและพัฒนาประเทศนอกจากนั้นหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงก็มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ เช่น กรมราชทัณฑ์ใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมชื่อผู้ต้องขังในคดีต่าง ๆ คำนวณวันพ้นโทษ คำนวณวันอภัยโทษ กรมตำรวจใช้คอมพิวเตอร์ในการทำทะเบียนประวัติอาชญากร รวบรวมสถิติอาชญากรรม การติดต่อสื่อสาร

กระทรวงการคลังใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาษีอากรและตรวจสอบว่าการเสียภาษีอากรถูกต้องหรือไม่

การไฟฟ้า การประปา และองค์การโทรศัพท์ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชีและออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้ใช้บริการ

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

โดยส่วนประกอบคอมพิวเตอร์พื้นฐานมีดังนี้

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

1. จอภาพ (Monitor)

CRT

 

 

จอภาพชนิดนี้จะมีขนาดใหญ่คล้ายโทรทัศน์ มีการสร้างภาพโดยใช้การยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปที่ผิวหน้าจอ ซึ่งจะยิงเป็นจุดๆเรียงแถวไปจนเต็มทั้งหน้าจอ โดยเมื่อลำแสงอิเล็กตรอนกระทบกับผิวหน้าจอแล้ว ที่ผิวหน้าจอจะมีสารเคลือบอยู่เป็นสารจำพวกสารประกอปของฟอสฟอรัส จะเกิดการเรืองแสงขึ้นมา โดยจะมีแสงทั้งหมดสามมีซึ่งเป็นแม่สี คือ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน โดยเมื่อแต่ละจุดมารวมกันก็จะเกิดภาพขึ้นบนหน้าจอ

 

2 เคส (Case)

ITSONAS_THUNDER_CASE-01-300x300

 

เคสเป็นโครงที่ใช้สำหรับใส่อุปกรณ์ภายในต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน อุปกรณ์ที่มักจะใส่ไว้ในเคสก็เป็นพวก เมนบอร์ด(Mainboard) แรม(RAM) การ์ดจอ(VGA Card) ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk Drive) พาวเวอซัพพลาย(Power Supply) เป็นต้น มีหลายแบบ หลายสีให้เลือกใช้ตามความพึงพอใจของผู้ใช้

 

3. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

POWER-P4-500x500-300x300

 

 

พาวเวอร์ซัพพลายทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเลือกใช้งานได้ตามจำนวนวัตต์ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อเยอะก็ควรจะเลือกใช้ที่วัตต์สูงๆ ไม่เช่นนั้นกำลังไฟอาจจะไม่พอทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ โดยจะทำการแปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์ , 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ แล้วแต่ว่าอุปกรณ์ชนิดใดต้องการกระแสไฟฟ้าเท่าใด โดยจะแบ่งได้เป็นสองแบบคือ AT และ ATX

 

4.คีย์บอร์ด (Keyboard)

 

Bijoy_Keyboard_image-1024x388

 

ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ โดยจะประกอปไปด้วยแป้นพิมพ์ที่มีปุ่มต่างๆมากมาย ทั้งปุ่มตัวอักษร(Typewriter keys) ตัวเลข(Numeric keypad) ปุ่มพิเศษ (Special-purpose keys) ปุ่มควบคุมอื่นๆ(Control keys) หรือปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆ(Function keys) สำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้การพิมพ์เป็นหลัก แป้นพิมพ์ถือเป็นอุปกรณ์หลักในการติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว ในยุคแรกนั้นจะใช้ในการพิมพ์ชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน รวมถึงเป็นตัวป้อนข้อมูลต่างๆจากผู้ใช้ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย

 

5. เมาส์ (Mouse)

 

Gigabyte-ECO600-mouse-300x232

 

ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ โดยจะใช้การเลื่อนเม้าส์เพื่อบังคับตัวชี้ตำแหน่ง(Pointer) บนหน้าจอ แล้วใช้การกดปุ่มบนตัวเม้าส์เพื่อสั่งให้ทำงานอะไรบนหน้าจอที่จุดนั้นๆได้

 

6. เมนบอร์ด (Main board)

 

Mainboard-271x300

 

ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอุปกรณ์ทุกตัวจะต้องเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดนี้ มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรขนาดใหญ่ โดยบนแผ่นวงจรนั้นจะมีช่องสำหรับนำอุปกรณ์ต่างๆมาเสียบไว้ที่เรียกว่า ซ็อคเก็ต(Socket) ซึ่งแต่ละอุปกรณ์ก็จะมี socket เฉพาะของอุปกรณ์นั้นๆ

7. ซีพียู (CPU)

 

cpu_i7-300x300

 

 

ซีพียูคือโปรเซสเซอร์(Processor) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซิพ(Chip) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากที่สุดเพราะมีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้งานส่งข้อมูลเข้ามาเป็นชุดคำสั่ง ซีพียู ประกอบด้วยส่วนหลัก 2 ส่วนดังนี้

1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU : Arithmetic & Logical Unit) ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวนอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวนทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คุณ หาร และยังทำการเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ โดยจะเปียบเทียบเงื่อนไขและกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ว่าคำตอบนั้นเป็นจริงหรือเท็จ

2) หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมขั้นตอนการประมวลผลและทำการประสานงานกับอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งด้าน Input และ
Output รวมถึงหน่วยความจำต่างๆด้วย

 

8. การ์ดแสดงผล (Display Card)

 

Video_card-1024x794

 

การ์ดแสดงผลจะทำงานเมื่อซีพียูประมวลผลจากข้อมูลต่างๆที่โปรแกรมส่งเข้ามา เมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จก็จะทำการส่งข้อมูลที่จะใช้แสดงผลต่อไปยังการ์ดแสดงผล การ์ดแสดงผลก็จะส่งต่อข้อมูลไปยังจอภาพเพื่อแสดงผลออกมาตามข้อมูลที่ได้รับมา โดยการ์ดบางรุ่นจะสามารถประมวลผลได้ในตัวเอง ทำให้ซีพียูไม่ต้องทำงานมากนัก มีผลทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย บางรุ่นก็จะมีหน่วยความจำในตัวเอง แต่บางรุ่นที่ไม่มีก็จะต้องดึงหน่วยความจำมาจากแรม (RAM) ซึ่งหาก แรมมีจำนวนน้อย อาจส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าลงไปด้วย แต่ในบางรุ่นที่มีหน่วยความจำในตัวเองก็จะทำให้รับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ประมวลผลได้เร็วขึ้น ทำให้การแสดงผลบนจอภาพมีคุณภาพที่สูงตามไปด้วย

 

9. แรม (RAM)

 

1GB533-xlarge-300x188

 

แรม หรือ RAM(Random-Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่ซีพียูสามารถดึงมาใช้ได้ทันที แต่ไม่ใช่หน่วยความจำถาวรจำเป็นต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงตลอดเวลาในการทำงาน หากไม่มีไฟมาหล่อเลี้ยงข้อมูลที่บันทึกไว้ก็จะหายไป โดยการทำงานของแรมนั้น เมื่อซีพียูได้รับข้อมูลมาจากผู้ใช้งานหรือโปรแกรมแล้วก็จะเริ่มทำการประมวลผล เมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จแล้ว ก็จะส่งต่อข้อมูลที่ประมวลผลเสร็จแล้วเก็บไปไว้ที่แรมก่อนจะถูกส่งต่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆต่อไป

 

10. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

 

46-wd-hard-disk-drive-300x268

 

เป็นหน่วยความจำถาวรประจำเครื่อง โดยจะประกอบไปด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) หลายๆแผ่นมาเรียงอยู่บนแกนเดียวกันที่เรียกว่า Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กแต่ละแผ่นหมุนไปพร้อมๆกัน โดยใช้มอเตอร์เป็นตัวหมุน โดยจะมีหัวอ่านติดอยู่ประจำแผ่นแต่ละแผ่นซึ่งหัวอ่านของแต่ละแผ่นจะเชื่อมติดกัน สามารถเคลื่อนที่เข้า-ออกแผ่นจานได้อย่างรวดเร็ว โดยมีแผงวงจรควบคุมอีกต่อหนึ่งอยู่ ซึ่งข้อมูลที่เก็บลงฮาร์ดดิสก์จะเก็บอยู่บนแผ่นจานแม่เหล็ก โดยแผ่นจานแต่ละแผ่นจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนก็คือ แทร็กและเซกเตอร์ โดยแทร็กจะเป็นรูปวงกลมทีละชั้นเข้าไปข้างใน และในแต่ละแทร็กก็จะถูกแบ่งออกเป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลมซึ่งเรียกว่าเซกเตอร์ ซึ่งเราจะแย่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็น 3 ชนิดตามอินเตอร์เฟส(Interface) ดังนี้

– IDE (Integrated Drive Electronics) จะใช้สายแพรในการต่อเข้ากับเมนบอร์ดโดยจะมีคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีบนบอร์ดไว้รองรับ ซึ่งโดยปกติแล้ว 1 คอนเน็คเตอร์จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้สองตัว
– Serial ATA (Advanced Technology Attachment) เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ที่เข้ามาแทนแบบ IDE ซึ่งมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่าแบบ IDE โดยมีความเร็วถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที ทำให้มีความรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น
– SCSI (Small Computer System Interface) อินเตอร์เฟสแบบนี้จะมีการ์ดที่มีหน่วยประมวลผลอยู่ในตัวเป็นตัวควบคุมอีกต่อหนึ่งแยกออกมาจากตัวฮาร์ดดิสก์ต่างหาก เพื่อเร่งความเร็วในการรับส่งข้อมูล เหมาะสำหรับใช้งานในรูปแบบ Server แต่มีราคาค่อนข้างแพงกว่าสองแบบข้างต้นมาก

 

นอกจากนี้ยังมีฮาร์ดดิสก์อีกแบบหนึ่งที่ไม่ได้ใช้แผ่นจานแม่เหล็กในการเก็บข้อมูล แต่ใช้ชิพวงจรรวมที่ประกอบรวมกันเป็นหน่วยความจำถาวร ที่เรียกว่า โซลิดสเตตไดรฟ์ (SSD : Solid state drive) โดยที่ โซลิดสเตตไดรฟ์ ได้ถูกสร้างขึ้นมาทดแทนฮาร์ดดิสก์แบบแผ่นจานแม่เหล็ก จึงมีข้อดีกว่าแบบแผ่นจานแม่เหล็กเยอะมาก โดยที่ โซลิดสเตตไดรฟ์จะประกอบไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จึงไม่ต้องมีชิ้นส่วนทางกลใดๆที่ต้องเคลื่อนที่ขณะทำงาน ซึ่งต่างจากฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ต้องใช้มอเตอร์ในการหมุนแผ่นจานแล้วมีหัวอ่านที่เคลื่อนที่ตลอดเวลาการทำงาน ทำให้โซลิดสเตตไดรฟ์สามารถทนแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า และจากการใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ทำให้การเข้าถึงข้อมูลรวดเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ต้องใช้หัวอ่านเคลื่อนที่เข้าไปยังจุดที่เก็บข้อมูล ทำให้ โซลิดสเตตไดรฟ์ มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์มาก นอกจากนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสียงรบกวนหรืออุณหภูมิในการใช้งาน โซลิดสเตตไดรฟ์ ยังมีประสิทธิภาพดีกว่าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์มากนัก เพียงแต่ราคาอาจจะสูงกว่าพอสมควร

 

11. CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW

 

Asus_CD-ROM_drive-300x205

 

ใช้สำหรับการอ่านแผ่น CD หรือ DVD โดยหากต้องการที่จะเขียนข้อมูลลงไปในแผ่นจะต้องเป็นไดร์ฟที่มี RW ด้วย โดยการทำงานนั้นจะอ่านข้อมูลจาก CD/DVD โดยใช้หัวอ่านเลเซอร์ที่จะยิงแสงเลเซอร์ลงบนซีดีรอม ซึ่งบนซีดีรอมนั้นจะแบ่งเป็นแทร็กและเซกเตอร์เช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แต่จะมีขนาดเท่ากันทุกเซกเตอร์ เมื่อเริ่มทำงานมอเตอร์จะหมุนแผ่นด้วยความเร็วต่าางๆกันทำให้แต่ละเซกเตอร์มีอัตราเร็วในการอ่านคงที่

 

12. ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)

 

SO08002A-1-300x225

 

เป็นอุปกรณ์ที่มีมาก่อนคอมพิวเตอร์เสียอีก ฟล็อปปี้ดิสก์ ยุคแรกๆมีขนาดตั้งแต่ 8 นิ้ว 5.25 นิ้ว จนปัจจุบันอยู่ที่ 3.5 นิ้ว มีความจำอยู่ที่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์จนถึง 2.88 เมกกะไบต์ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่นั้นแทบจะไม่มี Floppy Disk Drive อีกแล้ว เนื่องจากแผ่น ฟล็อปปี้ดิสก์ นั้นจุความจำได้น้อย แถมยังพังง่าย ปัจจุบันถูกทดแทนด้วย Flash Drive เสียมากกว่า

 

13. เน็ตเวิร์คการ์ด (Lan card)

 

lne100tx-300x198

 

เน็ตเวิร์คการ์ดหรือการ์ดแลน เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย โดยส่วนใหญ่จะเรียกว่า NIC(Network Interface Card) โดยจะทำการแปลงข้อมูลเป็นสัญญานไฟฟ้าที่สามารถส่งไปตามสายสัญญานได้ ซึ่งก็จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลหลายระดับตั้งแต่ 10 Mbps, 100Mbps หรือ 1000Mbps ซึ่งการ์ดบางรุ่นก็สามารถเลือกระดับความเร็วในการทำงานได้ ปัจจุบันเมนบอร์ดส่วนใหญ่มักจะมีชิพที่เป็นช่องเน็ตเวิร์คการ์ดในตัวอยู่แล้ว ทำให้ เน็ตเวิร์คการ์ด นั้นไม่ค่อยมีเห็นใช้กันแล้ว

ความสำคัญของคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ขนาดเล็กลง ราคาถูกลงแต่
ประสิทธิภาพหรือความสามารถในการท างานสูงขึ้น ท าให้หน่วยงาน องค์กร ตลอดจนบุคลได้น า
คอมพิวเตอร์มาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เช่น การพิมพ์เอกสารต่าง ๆ การออกแบบงานด้านศิลปะ การสร้างภาพกราฟิก การเล่นเกม การดูหนังฟังเพลง การสร้างเว็บส่วนตัว การน าคอมพิวเตอร์มาใช้งานในลักษณะเครือข่าย เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต การติดต่อสื่อสาร การเลือกซื้อสินค้า การสืบค้นข้อมูล ด้านการศึกษา เป็นต้น